วันศุกร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

รายงานชิ้นที่ 2


รายงานชิ้นที่ 2



ให้นักเรียนค้นคว้าในเรื่องต่อไปนี้ แล้วตอบลงในบล็อกของนักเรียน
1. กฎหมาย คืออะไร?ตอบ   คำจำกัดความของ “กฎหมาย” หมายถึงคำสั่งหรือข้อบังคับความประพฤติของมนุษย์  ซึ่งผู้มีอำนาจสูงสุด หรือรัฏฐาธิปัตย์เป็นผู้บัญญัติขึ้นผู้ใดฝ่าฝืน มีสภาพบังคับ


2. ลักษณะสำคัญของกฎหมาย มีอะไรบ้าง?
ตอบ         กฎหมายต้องมีลักษณะ  ๕ ประการดังนี้
1.            กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับ
2.            กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่มาจากรัฏฐาธิปัตย์ 
     3.  กฎหมายต้องเป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่ใช้ได้ทั่วไป     
     4.  กฎหมายบัญญัติขึ้นเพื่อให้บุคคลปฏิบัติตาม
     5.  กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ
                    
3.            กฎหมายมีความสำคัญหรือมีประโยชน์อย่างไร?
ตอบ 1. กฎหมายสร้างความเป็นระเบียบเรัยบร้อยแก่สังคมและประเทศชาติ 
         2. การบริหารราชการแผ่นดินและการปกครองบ้านเมืองเป็นไปด้วยความเรียบร้อย  
         3. สังคมจะสงบสุขเมื่อทุกคนปฎิบัติตามกฎหมาย   
         4. กฎหมายสร้างความเท่าเทียมในความเป็นมนุษย์   
         5. กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่สำคัญ เพื่อก่อให้เกิดความยุติธรรม

4. การแบ่งประเภทของกฎหมาย มีการแบ่งตามหลักเกณฑ์ใดบ้าง?
ตอบ      โดยใช้แหล่งกำเนิด แบ่งได้ 2 อย่าง
               1.กฎหมายภายใน
               2.กฎหมายภายนอก
1.กฎหมายภายใน
แบ่งตามเนื้อหา แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
-กฎหมายลายลักษณ์อักษร
-กฎหมายไม่เป็นลายลักษณ์อักษร
แบ่งตามสภาพบังคับ แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก่
-กฎหมายอาญา
-กฎหมายแพ่ง
แบ่งตามลักษณะการใช้แบ่งได้ 2 ประเภท ได้แก
-กฎหมายสารบัญญัติ
-กฎหมายวิธีสบัญญัติ
แบ่งตามลักษณะของฐานะและความสัมพันธ์/ปปช. ได้ 2ประเภท คือ
-กฎหมายมหาชน
-กฎหมายเอกชน
2.กฎหมายภายนอก
แบ่งตามลักษณะของฐานะและความสัมพันธ์ เช่น
1.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมือง
2.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคล
3.กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญา

5. ให้นักเรียนเขียน ศักดิ์ หรือลำดับชั้นของกฎหมาย เรียงจากสูงไปหาต่ำ?
ตอบลำดับศักดิ์ของกฎหมายในระบบกฎหมายไทย แบ่งอย่างละเอียดเป็น 7 ชั้น ได้แก่
1.            รัฐธรรมนูญ
3.            พระราชบัญญัติ
4.            พระราชกำหนด
5.            พระราชกฤษฎีกา
6.            กฎกระทรวง
7.            ข้อบัญญัติท้องถิ่น ได้แก่ ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร และข้อบัญญัติเมืองพัทยา
6. ที่มาของกฎหมายในระบบ Civil Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ   ซีวิลลอว์ (อังกฤษ
civil law) เป็นระบบกฎหมายซึ่งได้รับอิทธิพลจากกฎหมายโรมัน ลักษณะพื้นฐานของซีวิลลอว์คือ เป็นกฎหมายที่บัญญัติไว้เป็นลายลักษณ์อักษร เป็นระบบประมวล และมิได้ตัดสินตามแนวคำพิพากษาของศาล ระบบกฎหมายดังกล่าวจึงได้ยึดถือฝ่ายนิติบัญญัติเป็นบ่อเกิดหลักของกฎหมาย และระบบศาลมักจะใช้วิธีพิจารณาโดยระบบไต่สวน และศาลจะไม่ผูกพันตามคำพิพากษาในคดีก่อนๆ

7. ที่มาของกฎหมายในระบบ Common Law มีอะไรบ้าง?
ตอบ     ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์ (อังกฤษ
Common law) เป็นกฎหมายซึ่งพัฒนาขึ้นโดยผู้พิพากษาผ่านทางการตัดสินคดีความของศาลและศาลชำนัญพิเศษอื่น ๆ มากกว่าผ่านทางพระราชบัญญัติของฝ่ายนิติบัญญัติ หรือการดำเนินการของฝ่ายบริหาร
"ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์" เป็นระบบกฎหมายซึ่งให้น้ำหนักในการปฏิบัติตามคำพิพากษาที่มีมาก่อนเป็นอย่าง มาก บนแนวคิดซึ่งเชื่อว่าจะเป็นการอยุติธรรมหากตัดสินดำเนินคดีต่อข้อเท็จจริง ที่คล้ายคลึงกันในโอกาสที่ต่างกัน ทำให้การตัดสินคดีตาม "คอมมอนลอว์" ผูกมัดการตัดสินคดีในอนาคตตามไปด้วย ในกรณีซึ่งมีกลุ่มผู้ไม่เห็นด้วยกับกฎหมายดังกล่าว ศาลคอมมอนลอว์ที่เหมาะสมที่สุดจะตรวจสอบการตัดสินคดีที่ผ่านมาของศาลที่มี ลักษณะใกล้เคียงกัน หากข้อพิพาทที่คล้ายคลึงกันได้รับการแก้ไขแล้วในอดีต ศาลจะถูกผูกมัดให้ตัดสินคดีตามการให้เหตุผลซึ่งใช้ในการตัดสินคดีครั้งก่อน ๆ อย่างไรก็ตาม หากศาลพบว่าข้อพิพาทในปัจจุบันมีความแตกต่างอย่างชัดเจนกับการตัดสินคดีใน อดีตทั้งหมด ผู้พิพากษาจะมีอำนาจและหน้าที่ที่จะสร้างกฎหมายโดยการริเริ่มเป็นแบบอย่าง ภายหลังจากนั้น การตัดสินคดีครั้งนี้จะเป็นตัวอย่างแก่การตัดสินคดีครั้งต่อไป ซึ่งศาลในอนาคตจะต้องยึดมั่น
8. ระบบกฎหมายในปัจจุบันมีกี่ระบบ ระบบใดบ้าง?
ตอบ  มี 4ระบบ ได้แก่
         1.ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค
         2.ระบบกฎหมายคอมมอนลอว์
         3.ระบบกฎหมายสังคมนิยม
        4.ระบบกฎหมายศาสนาและประเพณีนิยม

9. ประเทศไทย เป็นประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายใด?
ตอบ  ระบบกฎหมายโรมาโน-เยอรมันนิค

10. องค์ประกอบสำคัญของ "รัฐ" มีอะไรบ้าง?
ตอบ   จะต้องมี 5ประการ ดังนี้
          1.ต้องมีประชาชนรวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อนเรียกว่า พลเมือง
          2.ต้องมีดินแดนเป็นของตนเอง ซึ่งมีอาณาเขตแน่นอน
          3.ต้องมีการปกครองเป็นระเบียบแบบแผน
         4.ต้องมีเอกราชไม่ขึ้นแกรัฐอื่น

วันพฤหัสบดีที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา

ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกาโอบามา ชนะการเลือกตั้งประธานาธิปดี สมัยที่ 2


โอบามา ชนะการเลือกตั้งประธานาธิปดี สมัยที่ 2
เมื่อวันที่ 7 พ.ย. บีบีซีรายงานบรรยากาศการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา ว่า ในช่วงเที่ยงคืนตามเวลาสหรัฐ หรือตรงกับเช้ามืดของประเทศไทย คณะกรรมการจัดการเลือกตั้งตามมลรัฐต่างๆ เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการนับคะแนน ซึ่งเป็นคะแนนที่นับจากคณะผู้เลือกตั้ง เรียกว่า อิเลกทอรัล คอลเลจ (electoral college) ผู้ที่จะเป็นตัวแทนประชาชนไปเลือกประธานาธิบดี มีทั้งหมด 538 เสียง ดังนั้นผู้ชิงเก้าอี้ประธานาธิบดีที่กำคะแนนคณะผู้เลือกตั้งนี้ถึง 270 เสียง จะถือเป็นผู้ชนะ
 เวลา 11.16 น. ตามเวลาไทย  NBC ประกาศ โอบามา ชนะการเลือกตั้ง
เวลา 11.15 น. ตามเวลาไทย ผลเลือกตั้ง โอบามา 275 รอมนีย์ 203 คะแนน 
เวลา 11.00 น. ตามเวลาไทย โอบามามีคะแนนนำรอมนีย์ห่างออกไปที่ 244 ต่อ 178 เสียง ซึ่งหากได้คะแนนที่รัฐฟลอริดา จะเหมือนหลักประกันเข้าสู่เส้นชัย
เวลา 10.35 น. ตามเวลาไท โอบามายังนำด้วยคะแนน 172 ต่อ 163 เสียง ผู้สนับสนุนรอมนีย์เริ่มเครียด หลังโอบามาได้รัฐนิวแฮมป์เชอร์ และวิสคอนซิน ส่วนที่ฟลอริดา คะแนนสูสีมาก หลังนับไป 90% โอบามามี 49.9 รอมนีย์ ได้ 49.3
เวลา 10.00 น. ตามเวลาไทย โอบามาแซงไปนำด้วยคะแนน 157 ต่อ 153 เสียง
เวลา 09.00 น. รอมนีย์แซงโอบามา ด้วยคะแนน 153 ต่อ 123 เสียง โดยทั้งสองฝ่ายต่างคว้าคะแนนในฐานที่มั่นของพรรคในสนามเลือกตั้งตามที่คาด การณ์ไว้ และต้องรอลุ้นคะแนนในรัฐที่คะแนนสูสี พร้อมจะพลิกได้ทุกเมื่อ
ต่อมาเวลา 08.30 น. ตามเวลาไทย รอมนีย์มีคะแนนไล่ตามมาติดๆ โอบามานำอยู่เพียง 77 ต่อ 76 เสียง
เข้าสู่ชั่วโมงต่อมา หรือ 08.00 น. ตามเวลาไทย โอบามาไล่แซงไปอยู่ที่ 57 ต่อ 40 เสียง
ช่วงชั่วโมงแรก หรือตรง กับ 07.00 น. ตามเวลาไทย มิตต์ รอมนีย์ ผู้ท้าชิงจากพรรครีพับลิกัน คว้าคะแนนนำก่อน 33 เสียง รวมถึงคะแนนที่รัฐเวสต์เวอร์จิเนีย ขณะที่ประธานาธิบดีบารัก โอบามา จากพรรคเดโมแครต ได้ 3 เสียง
ด้านซีเอ็นเอ็นรายงานผลเอ็กซิตโพล ในรัฐนอร์ท แคโรไลนา รอมนีย์และโอบามาต่างมีคะแนนเท่าๆ กันที่ร้อยละ 49 ส่วนเอ็กซิตโพลที่รัฐโอไฮโอ รัฐที่มักเป็นคะแนนหลักในการตัดสินผู้ชนะ โอบามานำรอมนีย์ร้อยละ 51 ต่อ 48
ที่มา มติชนออนไลน์

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การปกครองของไทย

    
การปกครองของไทย




การปกครอง คือการใช้อำนาจอธิปไตยตามกฎหมายในการบริหารและจัดการประเทศ
     การปกครองมีหลายรูปแบบ เช่น การปกครองแบบประชาธิปไตย และการปกครองแบบเผด็จการ นอกจากนี้การปกครองยังมีได้หลายระดับ เช่น การปกครองส่วนกลาง การปกครองส่วนภูมิภาค และ การปกครองส่วนท้องถิ่น
     รัฐบาล คือองค์การที่มีอำนาจในการออกและบังคับใช้กฎหมาย สำหรับดินแดนหนึ่งๆ นิยามที่ชัดเจนของรัฐบาลนั้นมีอยู่หลายนิยาม ในกรณีทั่วไป รัฐบาล คือผู้ที่มีอำนาจในการปกครอง กล่าวคือมีอำนาจในการบริหารจัดการเหนือพื้นที่ใดๆ หรือเหนือกลุ่มคน
    
ความหมายของการเมือง
“การเมือง” (politic) มาจากคำภาษากรีก “polis” แปลว่า “รัฐ” หรือ“ชุมชนทางการเมือง”
มีนักวิชาการหลายท่านให้ความหมายไว้หลากหลายต่างกันขึ้นอยู่กับทัศนะ
และความเข้าใจของนักวิชาการแต่ละคน

เพลโต (Plato) นักปราชญ์กรีกให้ความหมายของการเมืองว่า “เป็นกิจกรรมที่แสวงหาความยุติธรรม และเพื่อการดำรงชีวิตที่ดีของสังคม”อริสโตเติล (Aristotle) บิดาแห่งวิชารัฐศาสตร์ ให้ความหมายไว้ว่า “การเมือง” หมายถึงการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อสาธารณประโยชน์”
ฮาโรลด์ ลาสเวลล์ (Harold Lasswell) ว่า “การเมืองเป็นเรื่องของการใช้อำนาจ หน้าที่เพื่อจัดสรรสิ่งที่มีคุณค่าในสังคม


หลักเกณฑ์ในการพิจารณาว่ากิจกรรมที่เรียกว่าการเมืองเกี่ยวข้องกับ เรื่องต่าง ๆ ดังนี้ คือ
  1. เกี่ยวข้องกับมหาชน มีผลกระทบกับคนจำนวนมาก
  2. เกี่ยวข้องกับรัฐ
  3. เกี่ยวข้องกับนโยบายสาธารณะ
     ความหมายของรัฐ ชาติ ประเทศ  
          “รัฐ” หมาย ถึง ชุมชนทางการเมืองของมนุษย์ อันประกอบด้วยดินแดนที่มีขอบเขตแน่นอน มีประชากรอาศัยอยู่ในจำนวนที่เหมาะสม โดยมีรัฐบาลปกครองและมีอำนาจอธิปไตยของตัวเอง
          “ชาติ” หมายถึง ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในทางวัฒนธรรม และมีความผูกพันกันในทางสายโลหิต เผ่าพันธุ์ ภาษา ศาสนา วัฒนธรรม ตลอดจนมีประสบการณ์ทางประวัติศาสตร์ร่วมกัน หรือมีวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองร่วมกัน เช่นคำว่า “ชาติไทย”
          “ประเทศ” ความหมายกว้าง หมายรวมถึงดินแดนที่มีฐานะเป็นรัฐหรือไม่มีฐานะเป็นรัฐ แต่โดยสรุปแล้ว คำว่า “ประเทศ” ตามกฎหมายระหว่างประเทศ หมายถึง ดินแดน อาณาเขต และสภาพภูมิศาสตร์ เป็นต้นว่า ความอุดมสมบูรณ์ ดินฟ้าอากาศ
แม่น้ำ
ภูเขา ทะเล ป่าไม้ ฯลฯ เช่น ประเทศไทย
องค์ประกอบของรัฐ
   จะเป็นรัฐได้ต้องมีองค์ประกอบ  4  ประการ ได้แก่
        1.ประชากร (Population) หมายถึง มนุษย์ทุกคนที่อยู่ในอาณาเขตของรัฐถือว่ามีฐานะเป็นส่วนของรัฐโดยอัตโนมัติสิ่งที่ต้องพิจารณาเกี่ยวกับประชากรก็คือ

1)จำนวนประชากรแต่ละรัฐมีประชากรจำนวนเท่าใด ไม่มีการกำหนดที่
แน่นอนแต่ควรจะมีมากพอที่จะกำหนดความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้อยู่ใต้ปกครองได้


2)ลักษณะของประชากร หมายถึง ลักษณะทางด้านเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา
และวัฒนธรรม ซึ่งไม่จำเป็นต้องเหมือนกัน เพราะมีหลายรัฐที่ประกอบด้วยคนหลายเชื้อชาติภาษา และวัฒนธรรม

3)คุณภาพของประชากร ขึ้นอยู่กับการศึกษา สุขภาพ อนามัย ทัศนคติ และ
ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในการพัฒนาทุกรูปแบบ         
     2.ดินแดน (Territory) มีข้อสังเกตดังนี้คือ

ทะเล น่านฟ้า บริเวณใต้พื้นดิน พื้นน้ำและพื้นทะเล
1)ที่ตั้ง ดินแดนของรัฐหมายถึง อาณาเขตพื้นดิน น่านน้ำ อาณาเขตในท้อง2)ขนาดของดินแดนไม่มีหลักเกณฑ์ไว้แน่นอนตายตัวว่าจะต้องมีขนาดเท่าใดจึงจะถือว่าเป็นรัฐ แต่ควรจะมีความเหมาะสมกับจำนวนประชากรด้วย          
     3.รัฐบาล (Government) คือ องค์กร หรือหน่วยงานที่ทำหน้าที่ปกครองและบริหารภายในโดยเป็นผู้กำหนดนโยบายและนำนโยบายไปปฏิบัติ เพื่อจัดระเบียบ
ทางสังคม และดำเนินทุกอย่างเพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐ รัฐบาลจึงเป็นผู้ใช้อำนาจปกครองรัฐ

     4.อำนาจอธิปไตย (Sovereignty) เป็นองค์ประกอบประการสุดท้ายที่สำคัญของรัฐ อำนาจอธิปไตย คือ อำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ อำนาจอธิปไตย
มีอยู่ 2 ลักษณะ คือ อำนาจอธิปไตยภายใน (Internal Sovereignty) หมายถึง การที่มีอำนาจที่จะปกครองตนเองและมีอำนาจสูงสุดที่จะดำเนินการใด ๆ ในประเทศ
อย่างมีอิสระ ปราศจากการควบคุมจากรัฐอื่น อำนาจอธิปไตยภายนอก (External Sovereignty) หมายถึง การมีอิสระ มีเอกราชสามารถจะดำเนินความสัมพันธ์กับ
ประเทศอื่น ๆหรือกล่าวกันอีกอย่างหนี่งว่าเอกราชก็คืออำนาจอธิปไตยภายนอกนั่นเอง

             องค์ประกอบของรัฐทั้ง 4 ประการนี้ มีความสำคัญเท่าเทียมกัน ถ้ารัฐใดขาดองค์ประกอบในข้อใดข้อหนึ่ง แม้เพียงองค์ประกอบเดียวก็ตาม ถือว่าขาดคุณสมบัติของความเป็นรัฐโดยสิ้นเชิง
รูปแบบของรัฐ (Forms of State)
1.  รัฐเดี่ยว (Unitary State) คือ รัฐที่มีรัฐบาลกลางเป็นผู้มีอำนาจปกครอง และอำนาจบริหารสูงสุดเพียงองค์กรเดียว      
     รัฐบาลกลางเป็นผู้ที่ใช้อำนาจอธิปไตยทั้ง  3  อำนาจคือ นิติบัญญัติ บริหาร และตุลาการ 
     รัฐบาลเป็นองค์กรกลางองค์กรเดียวของรัฐที่ปกครองประชาชนได้โดยตลอด   รวมถึงการติดต่อสัมพันธ์กับ
     ต่างประเทศด้วย   ตัวอย่างรัฐเดี่ยว  ได้แก่  อังกฤษ  ญี่ปุ่น และไทย เป็นต้น 
2.  รัฐรวม (Composit State) ได้แก่ การรวมตัวกันของรัฐ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไป 
     โดยมีรัฐบาลเดียวกันซึ่งแต่ละรัฐยังคงมีสภาพเป็นรัฐอยู่เช่นเดิมแต่การใช้อำนาจอธิปไตยของรัฐที่มารวมกัน      
     อาจถูกจำกัดลงไปตามข้อตกลงที่ทำขึ้น 
รัฐรวมมีอยู่ 2 ประเภทด้วยกันคือ1)สหพันธรัฐ (Federal State) สหพันธรัฐ คือ รัฐที่เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันระหว่างรัฐต่าง ๆ ตั้งแต่ 2 รัฐขึ้นไปโดยใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับเดียวกันร่วมกัน
และความสัมพันธ์ระหว่างรัฐเหล่านั้นเป็นไปตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญนั้น ๆ รูปแบบการปกครอ
งแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ มีรัฐบาลกลางของสหพันธรัฐ
และรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของแต่ละรัฐซึ่งเรียกกันว่า “มลรัฐ” ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา อินเดีย มาเลเซีย
2)สมาพันธรัฐ (Confederation State) สมาพันธรัฐเป็นการรวมตัวกัน
ระหว่าง 2 รัฐขึ้นไป โดยไม่มีรัฐธรรมนูญ หรือรัฐบาลร่วมกัน แต่เป็นการรวมตัวกันอย่างหลวมๆเพื่อจุดมุ่งหมายอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นการ ชั่วคราวและเป็นบางกรณีเท่านั้น เช่น
การเป็นพันธมิตรกันเพื่อทำสงครามร่วมกัน เป็นต้น ในปัจจุบันนี้รูปแบบของ
รัฐแบบ
สมาพันธรัฐไม่มีอีกแล้ว แต่จะกลายเป็นลักษณะของการรวมตัวกันในรูปขององค์กรระหว่างประเทศ เช่น องค์การนาโต้ องค์การอาเซียน เป็นต้น



ระบอบประชาธิปไตย
เป็นระบอบการปกครองที่มีหลักการ และความมุ่งหมายที่ผูกพันอยู่กับประชาชน โดยประชาชนและเพื่อประชาชน ระบอบประชาธิปไตยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
แบบที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
กับแบบที่มีประธานาธิบดีเป็นประมุข แบบแรกคือแบบที่ใช้อยู่ในประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่นและไทย
แบบที่ 2 คือแบบที่ใช้อยู่ในประเทศอินเดีย ฝรั่งเศส และอเมริกา

หลักการสำคัญของระบอบประชาธิปไตย มีดังต่อไปนี้คือ

    1.อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศหรือเรียกว่าอำนาจของรัฐ (State Power) เป็นอำนาจหน้าที่มาจากประชาชน และผู้ที่จะได้อำนาจปกครองจะต้องได้รับความเห็นชอบจากประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ 2.ประชาชนมีสิทธิที่จะมอบอำนาจการปกครองให้แก่ประชาชนด้วยกันเอง โดยการออกเสียงเลือกตั้งบุคคลกลุ่มหนึ่งขึ้นมาเป็นผู้บริหารประเทศ ตามระยะเวลาและวิธีการที่กำหนดไว้ เช่น ทุก 4 ปี จะมีการออกเสียงเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนพร้อมกันทั่วประเทศ 3.รัฐบาล จะต้องเคารพสิทธิและเสรีภาพมูลฐานของประชาชน เช่น สิทธิเสรีภาพในทรัพย์สินและการแสดงความคิดเห็น การรวมกลุ่ม เป็นต้น โดยรัฐบาลจะต้องไม่ละเมิดสิทธิเหล่านี้เว้นแต่เพื่อรักษาความมั่นของชาติหรือเพื่อสร้างสรรค์ความเป็นธรรมแก่สังคมเท่านั้ 4.ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสมอภาคกัน ในการที่จะได้รับบริการทุกชนิดที่รัฐจัดให้แก่ประชาชน 5.รัฐบาล ถือกฎหมาย และความเป็นธรรมเป็นบรรทัดฐานในการปกครอง และในการแก้ปัญหาความขัดแย้งต่าง ๆ เพื่อความสงบสุขของประชาชน
ระบอบเผด็จการระบอบเผด็จการคือ ระบอบการปกครองที่ประชาชนถูกจำกัดสิทธิบางประการ โดยเฉพาะสิทธิทางการเมือง อำนาจการปกครองจะตกอยู่ในกำมือของคนเพียงคนเดียว หรือกลุ่มเดียว
หลักการสำคัญของระบอบเผด็จการ มีดังนี้
    1)ผู้นำคนเดียว หรือคณะผู้นำของกองทัพ หรือของพรรคการเมืองเพียงพรรคเดียวกลุ่มเดียว มีอำนาจสูงสุดในการปกครอง สามารถใช้อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ฟังเสียงคนส่วนใหญ่ของประเทศ
    2)การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำมีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำได้เลย
    3)ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต ตราบเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงาน หรือกองทัพยังให้ความสนับสนุนอยู่ ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
    4)รัฐธรรมนูญหรือการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดตั้งขึ้นตามรัฐธรรมนูญและ รัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครอง เหมือนในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น ไม่ใช่ตัวแทนของประชาชนอย่างแท้จริง
ระบอบเผด็จการมี 3 แบบ คือ
        เผด็จการทหาร 
เป็น การปกครองที่กองทัพเข้ามายึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาลเดิม เพื่อแก้ไขปัญหาประเทศที่เป็นภัยต่อความมั่นคงในบางเรื่องบางประการ โดยเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลปกครองในระยะเวลาสั้น ๆ ส่วนใหญ่จะยกเลิกรัฐธรรมนูญ และใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวที่มีการร่างเตรียมเอาไว้ก่อนแล้ว หลังจากแก้ไขปัญหาประเทศเรียบร้อยแล้ว ก็จะจัดให้มีการเลือกตั้ง และจัดตั้งรัฐบาลตามแนวทางระบอบประชาธิปไตย ตัวอย่างประเทศไทยของเราที่มีเหตุการณ์ดังกล่าวนี้ได้ครั้ง เช่นคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ(รสช.)ที่ยึดอำนาจการปกครองจากรัฐบาล พลเอกชาติชาย ชุณหวัน ใน พ.ศ.2534 หรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นพระประมุข ใน พ.ศ.2549

        เผด็จการฟาสซิสต์ เป็นรูปแบบเผด็จการแบบถาวร เผด็จ การฟาสซิสต์กำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศอิตาลี ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ก่อตั้งระบบฟาสซิสคือมุสโสลินี ส่วนฮิตเลอร์ก็ใช้ระบบนี้ในประเทศเยอรมันเช่นเดียวกัน
        เผด็จการคอมมิวนิสต์ ระบบ การปกครองคอมมิวนิสต์ เกิดขึ้นครั้งแรกในประเทศรัสเซีย โดยประธานาธิบดีเลนิน ต่อมาขยายไปยังประเทศจีน ประเทศในยุโรปตะวันออก ประเทศอินโดจีนได้แก่ กัมพูชา ลาว เวียดนาม เป็นต้น แต่สมัยปัจจุบันประเทศต่าง ๆ ได้เปลี่ยนแปลง มาเป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น คงมีที่ยึดระบบคอมมิวนิสต์อย่างเหนียวแน่นตลอดมาคือประเทศจีนนั่นเอง




                      การเมืองการปกครองของไทยปัจจุบัน

       ประเทศไทยมีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
                ฐานะและพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์
                    1. ทรงเป็นประมุขของประเทศ
                    2. เป็นจอมทัพไทย
                    3. เป็นที่เคารพสักการะของชาวไทย
                พระราชอำนาจของกษัตริย์ไทย
                    1. ทรงใช้อำนาจนิติบัญญัติทางรัฐสภา
                    2. ทรงใช้อำนาจบริหารทางคณะรัฐมนตรี
                    3. ทรงใช้อำนาจตุลาการทางศาล
            พระมหากษัตริย์จะทรงลงพระปรมาภิไธยในร่างพระราชบัญญัติที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภาและ
นายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการทุกครั้ง ศาลจะเป็นผู้พิจารณาคดีในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ พระราชอำนาจในการเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีและองคมนตรี ประธานรัฐสภาจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการในการแต่งตั้ง และประธานองคมนตรีจะเป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการแต่งตั้ง องคมนตรีคนต่อไป
             หน้าที่ขององคมนตรี ถวายคำปรึกษาและความเห็นในพระราชกรณียกิจของพระมหากษัตริย์


อำนาจอธิปไตยและการใช้อำนาจ
     อำนาจนิติบัญญัติ คือ อำนาจสูงสุดในการออกกฎหมายโดยสถาบันรัฐสภา ในรัฐสภามี 2 สภา คือ
            1. สภาผู้แทนราษฎร มาจากการเลือกตั้งของประชาชน ในอัตราส่วน 1 : 150,000 มีวาระ 4 ปี
            2. วุฒิสภา มาจากการแต่งตั้งของพระมหากษัตริย์ มีสมาชิก 2 ใน 3 ของสภาผู้แทนราษฎร มีวาระ 4 ปี
          หน้าที่ของรัฐสภา
                1. ทำหน้าที่ออกกฎหมาย
                2. ทำหน้าที่คัดเลือกรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศ
                3. รัฐสภาควบคุมการปฏิบัติงานของรัฐบาล
                4.วุฒิสภาหรือวุฒิสมาชิกทำหน้าที่กลั่นกรองพิจารณาร่างกฎหมาย
              บทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือ ส.ส.
                1. เลือกคณะรัฐบาลเพื่อบริหารงาน
                2. เป็นสื่อกลางระหว่างรัฐบาลกับประชาชน
                3. ร่วมกันเสนอแนะ ปรับปรุงและรักษาการปกครองแบบประชาธิปไตยในสังคมให้ดีขึ้น
                4. ร่วมกันตรากฎหมาย แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ข้อบังคับของสภา
                5. ควบคุมการทำงานของรัฐบาล
                6. อนุมัติงบประมาณของแผ่นดิน
     อำนาจบริหาร คือ อำนาจในการนำกฎหมายไปบังคับใช้หรือบริหารประเทศโดยรัฐบาล
          อำนาจและหน้าที่ของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
                1.ถวายสัตย์ปฏิญาณต่อพระมหากษัตริย์ว่าจะปฏิบัติ หน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต
                2. อุทิศเวลาให้แก่การบริหารราชการแผ่นดิน
                3. รับผิดชอบร่วมกับสภาผู้แทนราษฎร
                4. มิสิทธิเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร
                5. มีสิทธิขอให้รัฐสภาเปิดอภิปรายทั่วไป
                6. มีสิทธิเสนอร่างพระราชบัญญัติ
                7. มีอำนาจขอกราบบังคมทูลให้ยุบสภาผู้แทนราษฎร
                8.มีอำนาจกราบบังคมทูลแต่งตั้งหรือถอดถอนข้าราชการฝ่ายทหาร พลเรือน ปลัด กระทรวง อธิบดี
                9. มีอำนาจกราบบังคมทูลขอให้พระมหากษัตริย์ ประกาศกฎอัยการศึก และพระราชทานอภัยโทษแก่นักโทษได้
     อำนาจตุลาการ คือ อำนาจในการตัดสินคดี โดยสถาบันศาล ซึ่งศาลแบ่งเป็น 3 ระดับ คือ ศาลชั้นต้น ศาล อุทธรณ์ และศาลฎีกา
ผู้พิพากษาและตุลาการ มีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดีให้เป็นไปตามกฎหมาย
-คณะกรรมการตุลาการ มีหน้าที่แต่งตั้ง โยกย้าย ถอดถอน เลื่อนตำแหน่ง เลือนเงินเดือน การลงโทษทั้งทางวินัยแก่ข้าราชการตุลาการ
- คณะตุลาการรัฐธรรมนูญ ทำหน้าที่วินิจฉัยว่าบทบัญญัติของกฎหมายอื่นใดขัดแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ ถ้าขัดแย้งกฎหมายนั้นจะนำมาบังคับใช้ไม่ได้   และพิจารณาคุณสมบัติของ ส.ส. วุฒิสภาและรัฐมนตรี การจัดระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน


1. การบริหารราชการส่วนกลาง ประกอบด้วย
     - สำนักนายกรัฐมนตรี
     - กระทรวง
     - ทบวง
     - กรม
2. การบริหารราชการส่วนภูมิภาค ประกอบด้วย
     - จังหวัด
     - อำเภอ
3. การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย
     - องค์การบริหารส่วนจังหวัด
     - เทศบาล
     - สุขาภิบาล
     - กรุงเทพมหานคร
     - เมืองพัทยา
     - องค์การบริหารส่วนตำบล

         พรรคการเมือง การปกครองของประเทศไทย มีพรรคการเมืองหลายพรรค ทำให้เกิดรัฐบาลผสม
          การเลือกตั้ง กระบวนการในการเลือกตั้งของประเทศไทย มีลักษณะเป็นแบบผสม ทั้งแบบแบ่งเขตและแบบรวมเขต คือ
จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้เกิน 3 คน ใช้วิธีการแบ่งเขต แต่จังหวัดใดที่มีผู้แทนได้ไม่เกิน 3 คน จะใช้แบบวิธีรวมเขต

วันพุธที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2555

อาเซียน





"One  Vision, One Identity, One Community"
หนึ่งวิสัยทัศน์  หนึ่งอัตลักษณ์  หนึ่งประชาคม 






กำเนิดอาเซียน
       อาเซียน หรือ สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of South East AsianNations หรือ ASEAN) ก่อตั้งขึ้นโดยปฏิญญากรุงเทพ (Bangkok Declaration) ซึ่งได้มีการลงนามที่วังสราญรมย์ เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2510 โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศสมาชิกก่อตั้ง 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย สิงคโปร์ และไทย ซึ่งผู้แทนทั้ง 5 ประเทศ ประกอบด้วยนายอาดัม มาลิก (รัฐมนตรีต่างประเทศอินโดนีเซีย) ตุน อับดุล ราชัก บิน ฮุสเซน (รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีกลาโหมและรัฐมนตรีกระทรวงพัฒนาการแห่งชาติมาเลเซีย) นายนาซิโซ รามอส (รัฐมนตรีต่างประเทศฟิลิปปินส์) นายเอส ราชารัตนัม (รัฐมนตรีต่างประเทศสิงค์โปร์) และพันเอก (พิเศษ) ถนัด คอมันตร์ (รัฐมนตรีต่างประเทศไทย)
      ในเวลาต่อมาได้มีประเทศต่างๆ เข้าเป็นสมาชิกเพิ่มเติม ได้แก่ บรูไนดารุสซาลาม (เป็นสมาชิกเมื่อ 8 ม.ค.2527) เวียดนาม (วันที่ 28 ก.ค. 2538) สปป.ลาว พม่า (วันที่ 23 ก.ค. 2540) และ กัมพูชา เข้าเป็นสมาชิกล่าสุด (วันที่ 30 เม.ย. 2542) ให้ปัจจุบันมีสมาชิกอาเซียนทั้งหมด 10 ประเทศ
      วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งอาเซียน คือ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างประเทศในภูมิภาค ธำรงไว้ซึ่งสันติภาพเสถียรภาพ และความมั่นคงทางการเมือง สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าทางด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาทางสังคมและวัฒนธรรมการกินดีอยู่ดีของประชาชนบนพื้นฐานของความเสมอภาคและผลประโยชน์ร่วมกันของประเทศสมาชิก
สัญลักษณ์ของอาเซียน คือ รูปรวงข้าว สีเหลืองบนพื้นสีแดงล้อมรอบด้วยวงกลม สีขาวและสีน้ำเงิน
รวงข้าว 10 ต้น หมายถึง ประเทศสมาชิก 10 ประเทศ
สีเหลือง  หมายถึง  ความเจริญรุ่งเรือง 
สีแดง  หมายถึง  ความกล้าหาญและการมีพลวัติ
สีขาว  หมายถึง  ความบริสุทธิ์ 
สีน้ำเงิน  หมายถึง  สันติภาพและความมั่นคง
กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter)
         ในการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 13 เมื่อปี 2550 ที่ประเทศสิงค์โปร์ ผู้นำอาเซียนได้ลงนามในกฎบัตร  อาเซียนซึ่งเปรียบเสมือนธรรมนูญของอาเซียนที่จะวางกรอบทางกฎหมายและโครงสร้างองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียน ในการดำเนินการตามวัตถุประสงค์และเป้าหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขับเคลื่อนการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 (ค.ศ. 2015) ตามที่ผู้นำอาเซียนได้ตกลงกันไว้ โดยวัตถุประสงค์ของกฎบัตรอาเซียน คือ ทำให้อาเซียนเป็นองค์การที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง และเคารพกฎกติกาในการทำงานมากขึ้น นอกจากนี้ กฎบัตรจะให้สถานะนิติบุคคลแก่อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาล (Intergovernmental Organization)
กฎบัตรอาเซียน ประกอบด้วยข้อบทต่าง ๆ 13 บท 55 ข้อ มีประเด็นใหม่ที่แสดงความก้าวหน้าของอาเซียน ได้แก่
     (1) การจัดตั้งองค์กรสิทธิมนุษยชนของอาเซียน     (2) การให้อำนาจเลขาธิการอาเซียนสอดส่องและรายงานการทำตามความตกลงของรัฐสมาชิก     (3) การจัดตั้งกลไกสำหรับการระงับข้อพิพาทต่าง ๆ ระหว่างประเทศสมาชิก     (4) การให้ผู้นำเป็น ผู้ตัดสินว่าจะดำเนินการอย่างไรต่อรัฐผู้ละเมิดพันธกรณีตามกฎบัตรฯ อย่างร้ายแรง     (5) การเปิดช่องให้ใช้วิธีการอื่นในการตัดสินใจได้หากไม่มีฉันทามติ     (6) การส่งเสริมการปรึกษาหารือกันระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อแก้ไขปัญหาที่กระทบต่อผลประโยชน์ร่วม     (7) การเพิ่มบทบาทของประธานอาเซียนเพื่อให้อาเซียนสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างทันท่วงที     (8) การเปิดช่องทางให้อาเซียนสามารถมีปฏิสัมพันธ์กับองค์กรภาคประชาสังคมมากขึ้น และ     (9) การปรับปรุงโครงสร้างองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เช่น ให้มีการประชุมสุดยอดอาเซียน 2 ครั้งต่อปี จัดตั้งคณะมนตรีเพื่อประสานความร่วมมือในแต่ละ 3 เสาหลัก และการมีคณะกรรมการผู้แทนถาวรประจำอาเซียน ที่กรุงจาการ์ตา เพื่อลดเวลาและค่าใช้จ่ายในการประชุมของอาเซียน เป็นต้น
    กฎบัตรอาเซียนมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 ธันวาคม 2551 หลังจากที่ประเทศสมาชิกครบทั้ง 10 ประเทศ ได้ให้สัตยาบันกฎบัตร และการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 14 ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ - 1 มีนาคม 2552 ที่จังหวัดเพชรบุรีเป็นการประชุมระดับผู้นำอาเซียนครั้งแรกหลังจากกฎบัตรมีผลบังคับใช้
 ประชาคมอาเซียน (ASEAN Community)
            ประชาคมอาเซียนประกอบด้วยความร่วมมือ 3 เสาหลัก คือ 
        ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political and Security Community–APSC)
        ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community–AEC)

         ประชาคมสังคมและวัฒนธรรม (ASEAN Socio-Cultural Community–ASCC)
1. ประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน

(ASEAN Political and Security Community – APSC)

           มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างและธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงของภูมิภาค เพื่อให้ประเทศในภูมิภาคอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข และสามารถแก้ไขปัญหาและความขัดแย้ง โดยสันติวิธี อาเซียนจึงได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมการเมืองและความมั่นคงอาเซียน (ASEAN Political-Security Community Blueprint) โดยเน้นใน 3 ประการ คือ
          1) การมีกฎเกณฑ์และค่านิยมร่วมกัน ครอบคลุมถึงกิจกรรมต่าง ๆ ที่จะร่วมกันทำเพื่อสร้างความเข้าใจในระบบสังคมวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ที่แตกต่างของประเทศสมาชิก ส่งเสริมพัฒนาการทางการเมืองไปในทิศทางเดียวกัน เช่น หลักการประชาธิปไตย การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน การสนับสนุนการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคม การต่อต้านการทจริต การส่งเสริมหลักนิติธรรมและธรรมาภิบาล เป็นต้น
          2) ส่งเสริมความสงบสุขและรับผิดชอบร่วมกันในการรักษาความมั่นคงสำหรับประชาชนที่ครอบคลุมในทุกด้านครอบคลุมความร่วมมือเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงในรูปแบบเดิม มาตรการสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจและการระงับข้อพิพาท โดยสันติเพื่อป้องกันสงครามและให้ประเทศสมาชิกอาเซียนอยู่ด้วยกัน โดยสงบสุขและไม่มีความหวาดระแวง และขยายความร่วมมือเพื่อต่อต้านภัยคุกคามรูปแบบใหม่ เช่น การต่อต้านการก่อการร้าย อาชญากรรมข้ามชาติต่าง ๆ เช่น ยาเสพติด การค้ามนุษย์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมเพื่อป้องกันและจัดการภัยพิบัติและภัยธรรมชาติ
          3) การมีพลวัตและปฏิสัมพันธ์กับโลกภายนอก เพื่อเสริมสร้างบทบาทของอาเซียนในความร่วมมือระดับภูมิภาค เช่น กรอบอาเซียน+3 กับจีน ญี่ปุ่น สาธารณรัฐเกาหลี (เกาหลีใต้) และการประชุมสุดยอดเอเชียตะวันออก ตลอดจนความสัมพันธ์ที่เข้มแข็งกับมิตรประเทศ และองค์การระหว่างประเทศ เช่น สหประชาชาติ
2.ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
(ASEAN Political-Security Community-AEC)
          มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้อาเซียนมีตลาดและฐานการผลิตเดียวกันและมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน  เงินทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี อาเซียนได้จัดทำแผนงาน การจัดตั้งประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community Blueprint) ซึ่งเป็นแผนงานบูรณาการการดำเนินงานในด้านเศรษฐกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ 4 ด้าน คือ
         1) การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียว (single market and production base) โดยจะมีการเคลื่อนย้ายสินค้า บริการ การลงทุน และแรงงานมีฝีมืออย่างเสรี และการเคลื่อนย้ายเงินทุนอย่างเสรีมากขึ้น
         2) การสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจของอาเซียน โดยให้ความสำคัญกับประเด็นนโยบายที่จะช่วยส่งเสริมการรวมกลุ่มทางเศรษฐกิจ เช่น นโยบายการแข่งขัน การคุ้มครองผู้บริโภค สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายภาษี และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน (การเงิน การขนส่ง เทคโนโลยีสารสนเทศ และพลังงาน)
         3) การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างเสมอภาค ให้มีการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการเสริมสร้างขีดความสามารถผ่านโครงการต่าง ๆ
         4) การบูรณาการเข้ากับเศรษฐกิจโลก เน้นการปรับประสานนโยบายเศรษฐกิจของอาเซียนกับประเทศภายนอกภูมิภาคเพื่อให้อาเซียนมีท่าทีร่วมกันอย่างชัดเจน
3. ประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน 
(ASEAN Socio-Cultural Community – ASCC)

          อาเซียนได้ตั้งเป้าเป็นประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน ในปี 2558 โดยมุ่งหวังเป็นประชาคมที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง มีสังคมที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน ประชากรอาเซียนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดีและมีการพัฒนาในทุกด้านเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน รวมทั้งส่งเสริมอัตลักษณ์อาเซียน (ASEAN Identity)
เพื่อรองรับการเป็นประชาคมสังคม และวัฒนธรรมอาเซียน โดยได้จัดทำแผนงานการจัดตั้งประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน (ASEAN Socio-Cultural Community Blueprint)ซึ่งประกอบด้วยความร่วมมือใน 6 ด้าน ได้แก่
      1) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
      2) การคุ้มครองและสวัสดิการสังคม
      3) สิทธิและความยุติธรรมทางสังคม
      4) ความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม
      5) การสร้างอัตลักษณ์อาเซียน
      6) การลดช่องว่างทางการพัฒนา

     ทั้งนี้โดยมีกลไกการดำเนินงาน ได้แก่ การประชุมรายสาขาระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส และระดับรัฐมนตรีและคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียน
สาระสำคัญของปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือ
          ด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปันปฏิญญาชะอำ-หัวหินว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน  เน้นย้ำถึงบทบาทของการศึกษาในการสร้างประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558 อันประกอบด้วย 3 เสาหลัก ดังนี้
1. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาการเมืองและความมั่นคง
          สนับสนุนความเข้าใจและความตระหนักรับรู้เรื่องกฎบัตรอาเซียนให้มากขึ้นโดยผ่านหลักสูตรอาเซียน ในโรงเรียนและเผยแพร่กฎบัตรอาเซียนที่แปลเป็นภาษาต่างๆ ของชาติ ในอาเซียนให้เน้นในหลักการแห่งประชาธิปไตยให้มากขึ้น เคารพในสิทธิมนุษยชนและค่านิยมในเรื่องแนวทางที่สันติภาพในหลักสูตรของโรงเรียนสนับสนุน ความเข้าใจและความตระหนักรับรู้ใน
ความหลากหลายทางวัฒนธรรม ประเพณีและความเชื่อในภูมิภาคในหมู่อาจารย์ผ่านการฝึกอบรม โครงการแลกเปลี่ยน และการจัดตั้งข้อมูลพื้นฐานออนไลน์เกี่ยวกับเรื่องนี้จัดให้มีการประชุมผู้นำโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอในฐานะที่เป็นพื้นฐานสำหรับการแลกเปลี่ยนข้อ
คิดเห็นเกี่ยวกับประเด็นในภูมิภาคอาเซียนที่หลากหลาย การสร้างศักยภาพและเครือข่าย รวมทั้งยอมรับการดำรงอยู่ของเวทีโรงเรียน
เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Southeast Asia School Principals’ Forum: SEA-SPF)
2. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาเศรษฐกิจ

         พัฒนาพัฒนากรอบทักษะภายในประเทศของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อช่วยสนับสนุนการมุ่งไปสู่การจัดทำการยอมรับทักษะในอาเซียนสนับสนุนการขับเคลื่อนของนักเรียนนักศึกษาให้ดีขึ้นโดยการพัฒนาบัญชีรายการระดับภูมิภาคของอุปกรณ์สารนิเทศด้านการศึกษาที่ประเทศสมาชิกอาเซียนจัดหาได้สนับสนุนการเคลื่อนย้ายแรงงานมีฝีมือในภูมิภาคอาเซียน โดยผ่านกลไกความร่วมมือในระดับภูมิภาคระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนซึ่งจะต้องดำเนินควบคู่ไปกับความพยายามในการปกป้องและปรับปรุงมาตรฐานทางด้านการศึกษาและวิชาชีพพัฒนามาตรฐานด้านอาชีพบนพื้นฐานของความสามารถในภูมิภาคอาเซียนโดยมุ่งไปที่การสนับสนุนการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ทั้งในระดับภูมิภาคและระดับโลก และเพื่อสนองตอบต่อความต้องการของภาคอุตสาหกรรมโดยประสานกับกระบวนการกรอบการประชุมรัฐมนตรีอาเซียนด้านแรงงาน
3. บทบาทของภาคการศึกษาในเสาสังคมและวัฒนธรรม

         พัฒนาเนื้อหาสาระร่วมในเรื่องอาเซียนสำหรับโรงเรียนเพื่อใช้เป็นตัวอ้างอิงสำหรับการฝึกอบรมและการสอนของครูอาจารย์เสนอให้มีหลักสูตรปริญญาด้านศิลปวัฒนธรรมอาเซียนในมหาวิทยาลัยเสนอให้มีภาษาประจำชาติอาเซียน ให้เป็นภาษาต่างประเทศวิชาเลือกในโรงเรียนสนับสนุนโครงการระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นที่การส่งเสริมการตระหนักรับรู้เกี่ยวกับอาเซียนให้แก่เยาวชนรับรองการมีอยู่ของโครงการอื่นๆ เช่น การนำเที่ยวโรงเรียนอาเซียน โครงการแลกเปลี่ยนนักเรียนนักศึกษาอาเซียน การประชุมเยาวชนอาเซียนด้านวัฒนธรรม การประชุมสุดยอดเยาวชนนักศึกษาระดับมหาวิทยาลัยอาเซียน การประชุมเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียน และการประกวดสุนทรพจน์ระดับเยาวชน สนับสนุนการเรียนรู้ตลอดชีวิตในประเทศสมาชิกอาเซียนโดยการสนับสนุนการศึกษาสำหรับ
ทุกคนจัดให้มีการประชุมวิจัยทางด้านการศึกษาอาเซียนเพื่อส่งเสริมความร่วมมือทางการวิจัยและพัฒนาในภูมิภาคให้เป็นเวทีสำหรับนักวิจัยจากประเทศสมาชิกเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมองในประเด็นและเรื่องที่เกี่ยวข้องของภูมิภาคสนับสนุนความเข้าใจและการตระหนักรับรู้ในประเด็นและเรื่องราวต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมในภูมิภาคอาเซียนโดยการบูรณาการให้อยู่ในหลักสูตรในโรงเรียน และการมอบรางวัล
โรงเรียนสีเขียวอาเซียนเฉลิมฉลองวันอาเซียน (วันที่ 8 สิงหาคม)ในโรงเรียนโดยเฉพาะในเดือนสิงหาคมผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย เช่น การร้องเพลงชาติอาเซียน การจัดการแข่งขันเรื่องประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมอาเซียนการจัดแสดงเครื่องหมาย และสัญลักษณ์อื่นๆ ของอาเซียน การจัดค่ายเยาวชนอาเซียน เทศกาลเยาวชนอาเซียนและวันเด็กอาเซียนเห็นชอบที่จะเสนอในรัฐสมาชิกอาเซียน
แบ่งปันทรัพยากรแก่กัน และพิจารณาการจัดตั้งกองทุนพัฒนาด้านการศึกษาของภูมิภาคเพื่อให้มั่นใจว่าจะได้รับการสนับสนุนทางการเงินอย่างเพียงพอในการปฏิบัติการต่าง ๆได้ตามที่ได้รับการเสนอแนะมามอบหมายให้ องค์กรระดับรัฐมนตรีรายสาขาของอาเซียนเกี่ยวข้องและเลขาธิการอาเซียนดำเนินการปฏิบัติตามปฏิญญานี้โดยการให้แนวทางและสนับสนุนแผน 5 ปีของอาเซียนว่าด้วยเรื่องการศึกษา
         รวมทั้งข้อตกลงในการควบคุมดูแลที่ได้รับการสนับสนุนโดยคณะกรรมการผู้แทนถาวรและรายงานต่อที่ประชุม สุดยอดอาเซียนเป็นประจำผ่านคณะมนตรีประชาคมสังคมและวัฒนธรรมอาเซียนทราบผลการคืบหน้าของการดำเนินการปฏิญาณว่าความมุ่งมั่นและข้อผูกพันของผู้นำอาเซียนในการเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านการศึกษาเพื่อให้เกิดประชาคมอาเซียนที่มีการเคลื่อนไหวประชาคมที่มีความเชื่อมโยงกันและประชาคมของประชาชนอาเซียนและเพื่อประชาชนอาเซียน
นโยบายกระทรวงศึกษาธิการในการดำเนินการด้านการศึกษาตามปฏิญญาชะอำ-หัวหิน ว่าด้วยการเสริมสร้างความร่วมมือด้านการศึกษาเพื่อบรรลุประชาคมอาเซียนที่เอื้ออาทรและแบ่งปัน
           จากการประชุมคณะกรรมการระดับชาติเพื่อขับเคลื่อนการศึกษาในอาเซียนสู่การบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในปี 2558 เมื่อวันจันทร์ที่ 23 สิงหาคม 2553 ณ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน และผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้แทนองค์กรหลักของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้แทนสำนักงานเลขาธิการคุรุสภา ผู้อำนวยการเครือข่ายมหาวิทยาลัยอาเซียนและผู้แทนกรมอาเซียน กระทรวงการต่างประเทศ ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบร่างนโยบายเพื่อดำเนินงานตามปฏิญญาชะอำ-หัวหินด้านการศึกษา จำนวน 5 นโยบาย ดังนี้
         นโยบายที่ 1 การเผยแพร่ความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และเจตคติที่ดีเกี่ยวกับอาเซียน เพื่อสร้างความตระหนักและเตรียมความพร้อมของครูคณาจารย์ และบุคลากรทางการศึกษา นักเรียน นักศึกษา และประชาชน เพื่อก้าวเข้าสู่ประชาคมอาเซียน ภายในปี 2558         นโยบายที่ 2  การพัฒนาศักยภาพของนักเรียน นักศึกษา และประชาชนให้มีทักษะที่เหมาะสมเพื่อเตรียมความพร้อมในการก้าวประชาคมอาเซียน เช่น ความรู้ภาษาอังกฤษ ภาษาเพื่อนบ้าน เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะและความชำนาญการที่สอดคล้องกับการปรับตัวและเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรม และการเพิ่มโอกาสในการหางานทำของประชาชน รวมทั้งการพิจารณาแผนผลิตกำลังคน         นโยบายที่ 3  การพัฒนามาตรฐานการศึกษาเพื่อส่งเสริมการหมุนเวียนของนักศึกษาและครูอาจารย์ในอาเซียน รวมทั้งเพื่อให้มีการยอมรับในคุณสมบัติทางวิชาการร่วมกันในอาเซียน การส่งเสริมความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และการแลกเปลี่ยนเยาวชน การพัฒนาระบบการศึกษาทางไกล ซึ่งช่วยสนับสนุนการศึกษาตลอดชีวิต การส่งเสริมและปรับปรุงการศึกษาด้านอาชีวศึกษาและการฝึกอบรมทางอาชีพ ทั้งในขั้นต้นและขั้นต่อเนื่อง ตลอดจนส่งเสริมและเพิ่มพูนความร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาของประเทศสมาชิกของอาเซียน         นโยบายที่ 4  การเตรียมความพร้อมเพื่อเปิดเสรีการศึกษาในอาเซียนเพื่อรองรับการก้าวสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนประกอบด้วย การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมด้านการศึกษา การพัฒนาความสามารถ ประสบการณ์ในสาขาวิชาชีพสำคัญต่างๆ เพื่อรองรับการเปิดเสรีการศึกษาควบคู่กับการเปิดเสรีด้านการเคลื่อนย้ายแรงงาน
         นโยบายที่ 5  การพัฒนาเยาวชนเพื่อเป็นทรัพยากรสำคัญในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน

ประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States)



เนการาบรูไนดารุสซาลาม : Negara Brunei Darussalam
การปกครอง : สมบูรณาญาสิทธิราชย์
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีฮัจญี ฮัสซานัล โบลเกียห์ มูอิซซัดดิน วัดเดาเลาะห์
เมืองหลวง : บันดาร์เสรีเบกาวัน
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์, ภาษาอาหรับ
หน่วยเงินตรา : บรูไนดอลลาร์






ราชอาณาจักรกัมพูชา : Kingom of Cambodia
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระบรมนาถนโรดม สีหมุนี
เมืองหลวง : กรุงพนมเปญ
ภาษาราชการ : ภาษาเขมร
หน่วยเงินตรา : เรียล




สาธารณรัฐอินโดนีเซีย : Republic of Indonesia
การปกครอง : ระบอบสาธารณรัฐแบบประชาธิปไตย
ประมุข : พลโทซูซีโล บัมบัง ยูโดโยโน
เมืองหลวง : กรุงจาการ์ตา
ภาษาราชการ : ภาษาบาร์ฮาซา, ภาษาอินโดนีเซีย
หน่วยเงินตรา : รูเปียห์





สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว : The Loa People's Democratic Republic
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยม
ประมุข : พลโทจูมมะลี ไซยะสอน
เมืองหลวง : นครหลวงเวียงจันทน์
ภาษาราชการ : ภาษาลาว
หน่วยเงินตรา : กีบ




มาเลเซีย : Malaysia
การปกครอง : สหพันธรัฐ โดยมีสมเด็จพระราชาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : สมเด็จพระราชาธิบดีสุลต่านตวนกู อับดุล ฮาลิม มูอัซซอม ซาร์
เมืองหลวง : กรุงกัวลาลัมเปอร์
ภาษาราชการ : ภาษามาเลย์
หน่วยเงินตรา : ริงกิต






สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ : Republic of the Union of the Myanmar
การปกครอง : ระบบประธานาธิบดี
ประมุข : พลเอกเต็ง เส่ง
เมืองหลวง : นครเนปิดอร์
ภาษาราชการ : ภาษาพม่า
หน่วยเงินตรา : จั๊ต




สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ : Republic of the Philippine
การปกครอง : สาธารณรัฐเดี่ยวระบบประธานาธิบดี
ประมุข : เบนิกโน อากีโน ที่ 3
เมืองหลวง : กรุงมะลิลา
ภาษาราชการ : ภาษาตากาล๊อก, ภาษาอังกฤษ
หน่วยเงินตรา : เปโซ





สาธารณรัฐสิงคโปร์ : Republic of Singapore
การปกครอง : ระบบสาธารณรัฐแบบรัฐสภา มีประธานาธิบดีเป็นประมุข
ประมุข : โทนี ตัน เค็ง ยัม
เมืองหลวง : สิงคโปร์
ภาษาราชการ : ภาษาอังกฤษ, ภาษาจีนกลาง, ภาษามาเลย์, ภาษาทมิฬ
หน่วยเงินตรา : ดอลล่าร์สิงคโปร์




ราชอาณาจักรไทย : Kingdom of Thailand
การปกครอง : ระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
ประมุข : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช
เมืองหลวง : กรุงเทพมหานคร
ภาษาราชการ : ภาษาไทย
หน่วยเงินตรา : บาท




สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม : Socialist Republic of Vietnam
การปกครอง : ระบอบสังคมนิยมเวียดนาม
ประมุข : เจือง เติ๋น ซาง
เมืองหลวง : กรุงฮานอย
ภาษาราชการ : ภาษาเวียดนาม
หน่วยเงินตรา : ด่อง